แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ITA63 จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ITA63 จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

ITA63: ความสำคัญของ ITA2020 ต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

     ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อโครงการว่า "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐ  (Integrity and Transparency Assessment: ITA)"  ซึ่งดำเนินการโดยสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช. มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมโครงการประเมิน ITA มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมประเมิน ITA เป็นมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา และมีการจัดอันดับคะแนน ITA เป็นรายกลุ่มประเภทองค์กร
    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมโครงการประเมิน ITA มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลการประเมินคะแนนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาตามลำดับ ด้วยความร่วมมือในมาตรการการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มีผลการประเมินตามปีงบประมาณ ดังต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2559  ได้คะแนน 47.31 จัดอยู่ในอันดับที่ 76 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 77 แห่ง
  • พ.ศ. 2560  ได้คะแนน 76.18 จัดอยู่ในอันดับที่ 53 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 81 แห่ง
  • พ.ศ. 2561  ได้คะแนน 79.58 จัดอยู่ในอันดับที่ 53 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 81 แห่ง
  • พ.ศ. 2562  ได้คะแนน 86.25 จัดอยู่ในอันดับที่ 48 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 80 แห่ง
    สำหรับเกณฑ์คะแนนและระดับผลการประเมิน แบ่งเป็น 7 ระดับดังนี้

    สำหรับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือ ITAุ62 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่ม A  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.25  อยู่ในอันดับที่  48 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 80 แห่ง 

    ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับ ITA62 ของมหาวิทยาลัยไทย  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้จากลิงก์ https://itas.nacc.go.th/report/rpt0401?year=2019&departmentcatId=8
 
      สำหรับเป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตาม แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญไว้ใน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจนใน เป้าประสงค์ที่  "5. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรคุณภาพ คุณธรรม โปร่งใสและได้รับการยอมรับ" และแนวทางไว้เป็นกำหนดกลยุทธ์ไว้คือ "พัฒนาและเสริมสร้างองค์กรสู่องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส" โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จคือ ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในระดับดีมากขึ้นไป  
   ทั้งนี้ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นต้นแบบด้านคุณธรรมและความโปร่งใส "เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส" ซึ่งจะสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การเปิดเผยข้อมูลองค์กร กระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการ สำคัญที่สุดก็คือ การรับรู้ ตระหนักรู้ ความรู้ความเข้าใจของทุกคนในองค์กร (ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ผู้นำนักศึกษา นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) เกี่ยวกับความสำคัญของคุณธรรมและความโปร่งใส องค์ประกอบการประเมิน แนวทางการประเมิน ความผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย  รวมทั้งการปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมของคนในองค์กรให้แสดงออกซึ่งคุณธรรมและความโปร่งใส 


เอกสารรายละเอียดการประเมิน ITA 2563 (.pdf)

Download เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ITA ได้ที่  https://itas.nacc.go.th/home/listalldocument



มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส 
ต่อต้านการทุจริตทุกคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

ITA63: ผลประโยชน์ทับซ้อนและการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ทางราชการ

     บทความนี้ เผยแพร่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ อันจะเป็นการป้องกันการเกิดพฤติกรรม "ผลประโยชน์ทับซ้อน และพฤติกรรมการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม" หรือผลประโยชน์ทางราชการของบุคลากรในองค์กร
    ทั้งนี้ เป็นมาตการหนึ่งในการสร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประพฤติตนในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการอยู่ร่วมกันในองค์กรอย่างมีคุณธรรม และเกิดความโปร่งใส
     เว็บไซต์องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น สรุปลักษณะพฤติกรรมผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวมขัดกัน ที่เรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ไว้ดังนี้

 "ผลประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม ขัดกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จึงต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามา เกี่ยวข้อง   ซึ่งลักษณะพฤติกรรมที่เกิด ผลประโยชน์ทับซ้อน  9 รูปแบบ มีดังนี้

1. การใช้ตำแหน่งไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองโดยตรง

2. ใช้ตำแหน่งไปช่วยเหลือญาติสนิทมิตรสหาย

3. การรับผลประโยชน์โดยตรง

4. การแลกเปลี่ยนผลประโยช์โดยใช้ตำแหน่งหน่าที่การงาน

5. การนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปใช้สวนตัว

6. การนำข้อมูลอันเป็นความลับของหน่วยงานมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว

7. การทำงานอีกแห่งหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับแห่งเดิม

8. ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

9. การปิดบังความผิด"

ที่มา: http://www.anticorruption.in.th 

      ตัวอย่างพฤติกรรมผลประโยชน์ทับซ้อน (ระบบคิดฐานสิบ) และตัวอย่างพฤติกรรมที่ป้องกันไม่เกิดผลประโยชน์ (ระบบคิดฐานสอง) 


ที่มา: https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/2019112612083896.pdf


เรียนรู้ผลประโยชน์ทับซ้อนจากคลิปวิดีโอ: สถาบันประปกเกล้า
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=21&v=34Ixr18MPOs&feature=emb_logo


      จากความรู้ และวิดีทัศน์ตัวอย่างที่นำเสนอ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของบุคลากรที่อาจจะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำตาม ๆ กันมา เป็นวัฒธรรมในองค์กรที่สืบต่อกันมา หรือเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องพึงระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวท่าน ได้แก่  ไม่รับของขวัญจากผู้มาติดต่อ  ไม่ใช้รถหลวงในเรื่องส่วนตัว ไม่ใช้โทรศัพท์หลวงติดต่อธุรส่วนตัว ไม่นำอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนตัวมาชาร์จที่ทำงาน (ยกเว้นเพื่อปฏิบัติราชการ) ไม่นำวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์หลวงไปใช้ส่วนตัว (ยกเว้นขอยืมไปใช้สำหรับปฏิบัติงานเร่งด่วนของทางราชการ โดยยืมและคืนตามระเบียบ) ไม่นำรถส่วนตัวมาล้างโดยใช้น้ำของมหาวิทยาลัย  ไม่ใช้ห้องทำงาน ห้องเรียน ห้องประชุม สถานที่ของหลวงเพื่องานส่วนตัว เป็นต้น




มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส ต่อต้านการทุจริตทุกคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ



วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

มาตรการส่งเสริมการรับรู้การประเมิน ITA63: สำหรับบุคลากรภายใน


https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/51440295ce08cb17013cb51aad25ade5.pdf
  การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในองค์กรภาครัฐ หรือ Integrity and Transparency Assessment: ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงาน ป.ป.ช. มีองค์ประกอบในการประเมินคะแนนจากการรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลผล 3 ส่วน ได้แก่
 
       (1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
(Internal Integrity and Transparency: IIT) 
สำหรับมาตรการในการสร้างการรับรู้ของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยเผยแพร่รายละเอียด ข้อมูลสร้างการรับรู้ภายในให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย ให้แก่บุคลการรับรู้ รับทราบ และทำความใจร่วมกัน เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาไปสู่องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใสต่อไป

(2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
(External Integrity and Transparency: EIT) 


(3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
(Open Data Integrity and Transparency: OIT)

สำหรับประเด็นการประเมินในแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้